19 สิงหาคม 2567
ผู้ชม 4590 ผู้ชม
Puritan's Pride Lutein 40 mg with Zeaxanthin 1,600 mcg / 60 Softgels
Puritan’s Pride Lutein 40 mg with Zeaxanthin / 60 Softgels อาหารเสริมบำรุง สายตา สาร ลูทีน และ ซีแซนทีน เหมาะกับผู้ใช้สายตามาก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรืออยู่กับแสงสว่างจ้า กลางแดด ผู้ที่ต้องขับรถกลางคืนบ่อย ๆ ผู้ที่โดนแฟลช ดูทีวีมากและนาน ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งเต้านม ช่วยลด ความเสี่ยงในการเป็นโรคต้อกระจก และโรคจอตาเสื่อม ( AMD ) มะเร็งเต้านมและโรคหลอดเลือดหัวใจ
ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) เป็น สารธรรมชาติจัดอยุ่ในกลุ่มของสารรงควัตถุที่มีสีในตระกูลของสาร แคโรทีนอยด์ แต่มีความแตกต่างจาก คาโลทีนอยด์ ชนิดอื่นตรงที่จะไม่เปลี่ยนไปเป็นวิตามิน เอ ลูทีน และซีแซนทีน มีในเนื้อเยื่อของร่างกายมนุษย์หลายจุดด้วยกัน ส่วนของร่างกายที่มีสาร ลูทีน และซีแซนทีน ได้แก่ในลูกตา คือ ที่เลนส์ตา และจอรับภาพของตา คือเรติน่า ตรงตำแหน่ง จุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในจอตาเรติน่าเพราะเป็นจดุที่รูปภาพและแสง ส่วนมากจะมาตกบริเวณนี้ เป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดที่สุดนั่นเอง ในธรรมชาติแล้วแม้จะมี แคโรทีนอยด์ มากกว่า 600 ชนิด แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่พบในมนุษย์ และมีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่พบในจุดรับภาพของลูกตา ( Macula ) คือ ลูทีน ( Lutein ) และ ซีแซนทีน ( Zeaxanthin ) ในจอตาทั้งคู่ทำหน้าที่
: ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา
: ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลายโดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสง สีน้ำเงินที่จะทำลายดวงตา
นอกจากนี้ ลูทีน และซีแซนทีน ยังพบได้ใน ตับ ตับอ่อน ไต ต่อมหมวกไต และเต้านมแต่ก็เป็นสารที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้ ร่างกายของเราจะได้รับสารนี้ก็ต่อเมื่อรับประทานพืชผักที่มีสารนี้เท่านั้น แต่สาร ซีแซนทีน นอกจากจะได้จากอาหารส่วนหนึ่งแล้ว ร่างกายสามารถเปลี่ยนสาร ลูทีน ในตาไปเป็นสารซีแซนทินได้ พืชผักที่มีสาร ลูทีน และ ซีแซนทีน โดยมากมักจะเป็นผัก ผลไม้ ที่มีสีเหลืองและสีเขียวเข้ม เช่น ข้าวโพด ผักกาด ผักปวยเล้ง คะน้า ผักโขมลูทีน และ ซีแซนทีน มีประโยชน์ในโรคหลายชนิดด้วยกัน ที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก และโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดอุบิตการณ์ในโรคมะเร็ง บางชนิด
โรคต้อกระจก ( Cataracts )
คือภาวะ ที่กระจกตา หรือเลนส์ตาขุ่นทำให้แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปในตาได้ตามปกติ ตาจะมัวมากน้อยขึ้นอยู่กับต้อกระจกขุ่นมากน้อยแค่ไหน ต้อกระจกไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจเป็นพร้อมกันทั้งสองตา ต้อกระจกจะค่อย ๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ ต้อกระจกไม่ใช่โรคมะเร็ง ต้อกระจกสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดลอกต้อกระจกขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละคนโดยจักษุแพทย์จะเป็น ผู้ให้คำแนะนำ และเลือกวิธีการผ่าตัดให้ได้ดีที่สุด
สาเหตุหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ขุ่น และนิวเคลียสแข็งขึ้น พบการเปลี่ยนแปลงนี้ในผู้สูงอายุ พบบ่อยตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุอื่น เช่น จากกรรมพันธุ์ จากอุบัติเหตุตา จากการติดเชื้อ จากการติดเชื้อในครรภ์มารดา ถ้าพบตั้งแต่เกิดก็เรียกว่า “ต้อกระจกแต่กำเนิด” เช่นในเด็กที่เกิดหลังจากมารดาติดหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ ในคนที่เป็นเบาหวานพบว่าเป็นต้อกระจกเร็วกว่าคนธรรมดาอย่างมาก ตาปกติเลนส์ตาจะใส และปล่อยให้แสงผ่านไปได้ แต่เมื่อเป็นต้อกระจก เลนส์ตาจะขุ่นแสงผ่านเข้าไม่ได้ เมื่อเริ่มเป็นต้อกระจก ผู้ป่วยจะรู้สึกตาข้างนั้นมัวคล้ายมองผ่านหมอก อาจมองเห็นภาพซ้อน ขับรถตอนกลางคืนลำบากขึ้น เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น จะสามารถสังเกตเห็นต้อสีขาวที่ม่านตาได้
การตรวจวินิจฉัย เมื่อมีอาการตามัวควรไปรับการตรวจจากจักษุแพทย์ ต้อกระจกจะทำให้สายตามัวไปทีละน้อย เมื่อ ต้อ สุกจะมองเห็นแต่มือไหว ๆ หรือเห็นเพียงแสงไฟเท่านั้น
โรค จุดรับภาพเสื่อม( Age-Related Macula Degenerationหรือ AMD )
เกิด จากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ซึ่งเป็นกลางจอตา (Retina) ทำให้การมองเห็นภาพเบลอ บิดเบี้ยวบางครั้งอาจรุนแรงขนาดเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลาอาจมีสาเหตุมา จาก
– ปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เช่น การเสื่อมสภาพของดวงตาเมื่ออายุเพิ่มขึ้น หรือการถ่ายทอดผ่านทางกรรมพันธุ์จากบรรพบุรุษ
– ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
: การเผชิญแสงแดดจ้า ทำให้ดวงตาได้รับรังสี UV โดยตรง
: การมีพฤติกรรมชอบบริโภคอาหารที่มีไขมันและคอเรสเตอรอลสูง เพราะอาหารประเภทนี้อุดมไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเนื้อเยื่อในร่างกาย ให้เสื่อมสภาพได้ รวมถึงการขาดสารอาหารบางชนิด
: การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงเนื่องจากเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะ เป็นตัวเร่งให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย
: การสูบบุหรี่ เพราะควันในบุหรี่มากไปด้วยอนุมูลอิสระที่จะไปทำลายเซลล์ในตา
– ปัจจัยที่เกิดจากอาการเจ็บป่วยของโรคอื่น เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ก็มีส่วนเนื่องจากโลหิดในตาเสื่อมลง จึงส่งผลให้หลอดเลือดฝอยของจอประสาทตารั่วซึมหรือแตกง่าย
ลูทีน และ ซีแซนทีน กับโรคต้อกระจก
กลไก ของการที่ ลูทีน และ ซีแซนทีน ช่วยลดหรือป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้นั้นเป็นเพราะ เป็นคุณภาพของสารเองที่จะลดกลไกการเกิดความเสื่อม ของโรคต้อกระจกโดยตรง ( อ้างอิงที่ 1) นอกจากนี้ก็ยังพบว่าทั้ง ลูทีน และ ซีแซนทีน ต่างก็มีคุณสมบัติเป็นส ารต้านอนุมูลอิสสระ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในโรคทึ่เกิดจากการมี สารอนุมูลอิสสระ สูงได้ ( อ้างอิงที่ 2,3) มีการค้นพบที่ชัดเจนว่า การได้รับแสงเป็นประจำได้ก่อให้เกิดการสร้าง อนุมูลอิสสระ ใน กระจกตาและจอตาได้จริง มีผลทำให้เกิดออกซิเดชั่นของโปรตีนและไขมันในเลนส์ตา ทำให้ไปในทิศทางของความเสื่อมของเลนส์ตาและก่อให้เกิดต้อกระจกในผู้สูงอายุ ได้ ( อ้างอิงที่ 4) จึงเป็นเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมสารลูทีน และซีแซนทีน จึงสามารถลดความเสี่ยงของโรคต้อกระจกและโรคของจอตาคือโรค โรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีกลไกการเกิดโรคจากความเสื่อมและอนุมูลอิสสระได้เช่นกัน ในเรื่องของต้อกระจก ได้มีการวิจัยวัดความขุ่นของเลนส์ตา ระดับของ ลูทีน และ ซีแซนทีน ในกระแสเลือด ในกลุ่มผู้สูงอายุต่างๆ พบว่า การมีระดับ ของ ลูทีน และ ซีแซนทีน ในกระแสเลือดสูงจะผกผันกับความขุ่นของเลนส์ตาในผู้สูงอายุ เป็นการวิจัยของจักษุแพทย์ และผู้วิจัยสรุปว่า ลูทีน และ ซีแซนทีน น่าจะลดการเกิดความเสื่อมของเลนส์ตาในผู้สูงอายุได้จริง ( อ้างอิง ที่ 5) ยังมีการวิจัยว่าการรับประทาน ลูทีน ในปริมาณสูง เพิ่มความสามารถในการมองเห็น ของผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกไปแล้ว การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยที่ดีมาก และทำการทดลองเป็นเวลานานถึงสองปีทีเดียว ( อ้างอิง ที่ 6 ) การวิจัยที่ยิ่งใหญ่ถึงคุณประโยชน์ของ ลูทีน และ ซีแซนทีน ทำในอเมริกา สองงานวิจัย งานวิจัยแรกทำที่ Harvard School of Public Health, Boston ในผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเสริม เป็น ลูทีน และ ซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของ โรคต้อกระจกถึง 19% ( อ้างอิงที่ 7 ) และอีกงานวิจัยทำที่ University of Massachusetts ทำในสุภาพสตรี ถึง 50, 461 คน เป็นการวิจัยทำนองเดียวกัน แต่ทำในผู้หญิงเท่านั้นพบว่า ลูทีน และ ซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของโรค ต้อกระจก ถึง 22% ( อ้างอิงที่ 8 )นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ทำที่ University of Wisconsin-Madison Medical School ในผู้สูงอายุ 43-84 ปี จำนวน1,354 คน พบว่า ลดอุบัติการณ์ของ ต้อกระจก ที่เกิดตรงกลางเลนส์ ( nuclear cataracts ) ได้ประมาณ 50% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ( อ้างอิงที่ 9 ) เนื่องจากมีงานวิจัยที่ชัดเจนมากมายถึงขนาดนี้จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีน และ ซีแซนทีน ลดอุบัติการณ์โรค ต้อกระจก ในผู้สูงอายุได้จริง
ลูทีน และ ซีแซนทีน กับโรคจุดรับจอภาพเสื่อม
นอกจาก ลูทีน และ ซีแซนทีน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ต้อกระจก แล้ว ยังพบว่ามีประโยชน์ในโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ซึ่งมีหลายๆการศึกษาสนับสนุนข้อมูลดังกล่าว โดยพบว่า ถ้าปริมาณ Lutein & Zeaxanthin ในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสี่ยงมากขึ้นในเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม ( อ้างอิงที่ 10 ) และความเสี่ยงในการเป็นโรคโรคจุดรับภาพเสื่อม จะลดลง หากมีปริมาณ L ลูทีน และ ซีแซนทีน ในเลือดสูงขึ้น ( อ้างอิงที่ 11,12 ) แสดงให้เห็นว่า การบริโภค อาหารที่มี ลูทีน และ ซีแซนทีน สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคได้
ลูทีน กับ มะเร็งเต้านม
ในการวิจัย ของพยาบาล Nurse’s Health Study, Zhang และคณะ . พบว่ามีคนที่บริโภคอาหารที่มี ลูทีน และ ซีแซนทีน ปริมาณมากอาจลดอุบัติการณ์ของโ รคมะเร็งเต้านม ในสตรีช่วงหมดประจำเดือน ได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่า เปอร์เซนต์การลดอุบัติกาณ์จะไม่มากนัก แต่ก็น่าสนใจอย่างยิ่ง ( อ้างอิงที่ 13) ในทำนองที่สอดคล้องกัน ก็มีผู้วิจัยพบว่า ลูทีน ลดอุบัติการณ์มะเร็งเต้านมได้จริงในสตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยงคือมีประวัติ ครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม (อ้างอิงที่ 14) ที่เป็นเช่นนี้อธิบายได้จากกลไกของตัว ลูทีน เอง เพราะพบว่า สาร ลูทีน มีคุณสมบัติยังยั้งการก่อมะเร็ง ได้ด้วยกลไกหลายชนิด เช่น มีผลต่อการเกิด mutagens 1-nitro pyrene and aflatoxin B1 ( อ้างอิงที่ 15,16) และมีผลต่อยีนที่มีผลต่อ T-cell transformations (อ้างอิงที่ 17)
ลูทีน ซีแซนทีน กับโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรค หลอดเลือดหัวใจ สาเหตุหลักมักเกิดจากการที่เส้นเลือดมีการหนาตัวตีบแคบลง จากการมีตะกอน (ทางการแพทย์เรียกว่า พล๊าค ( Plaque ) ในผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดตีบแคบทั่วไป เพียงแต่บริเวณที่สำคัญที่ต้องการเลือดมากที่สุดตลอดเวลาคืออวัยวะที่ไม่มี การหยุดพัก คือหัวใจ เป็นจุดที่เกิดปัญหาได้ก่อน ทำให้มีการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก อาจมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจนหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นและถึงแก่กรรมโดยฉับพลันได้ บางรายอาการทางหัวใจไม่มาก แต่เมื้อหัวใจเต้นผิดจังหวะนานๆ ก็อาจจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีอัมพาตแขนขาอ่อนแรง หรืออัมพาตครึ่งซีก ตามมาได้ สาเหตุที่สำคัญที่ก่อให้เกิดพล๊าคในผนังเส้นเลือดคือภาวะไขมันในเลือดสูงและ มีส ารอนุมูลอิสสระ ในผนังเส้นเลือด ก่อให้เกิดการแทรกซึมของไขมันโคเลสเตอรอลลงไปสะสมในผนังเส้นเลือดทำให้เกิด พล๊าคและมีการตีบตันได้ งานวิจัยพบว่า ลูทีน สามารถลดกลไกการเกิดพล๊าคดังกล่าวได้ ( อ้างอิงที่ 18 ) พบว่าในผู้ที่บริโภคอาหารที่มีลูทีนสูงจะลดอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดตีบในสมองอย่างมีนัยสำคัญ ( อ้างอิงที่ 19,20)
Puritan’s Pride Lutein 40 mg with Zeaxanthin / 60 Softgels
Supplement Facts | |
Serving Size 1 Softgel | |
Amount Per Serving | % Daily Value |
Lutigold™ Lutein | 40 mg ** |
(contains Zeaxanthin, 1,600 mcg) | |
**Daily Value not established. |
Directions: For adults, take one (1) softgel daily, preferably with a meal.
Other Ingredients: Safflower Oil, Gelatin, Vegetable Glycerin, Yellow Beeswax.
WARNING: If you are pregnant, nursing, taking any medications or have any medical condition, consult your doctor before use. Avoid this product if you are allergic to daisy-like flowers. Discontinue use and consult your doctor if any adverse reactions occur. Keep out of reach of children. Store at room temperature. Do not use if seal under cap is broken or missing.
คำเตือน
ผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวข้างต้นไม่ใช่ ผลิตภัณฑ์ที่จัดว่าเป็นยา จึงไม่ได้มีสรรพคุณในการรักษาโรคใดๆได้ และการได้รับสารอาหารต่างๆควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิด ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ ผลการใช้อาจให้ผลที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ควรเก็บไว้ในที่ร่มให้พ้นแสงแดดและความร้อน และ โปรดอ่านคำเตือนบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์ก่อนใช้